[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 294 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ blog
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
รวมเว็บที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ปวดท้องน้อยตรงกลาง ตั้งครรภ์  VIEW : 1351    
โดย ดร. ภัทร

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 155
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 10
Exp : 6%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 43.249.60.xxx

 
เมื่อ : ศุกร์ ที่ 3 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2560 เวลา 16:15:10   

ปวดท้องน้อยตรงกลาง ตั้งครรภ์
ปวดท้องน้อย
ปวดท้องน้อย ปวดอุ้งเชิงกราน หรือปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน (Pelvic pain) คือ อาการปวดที่เกิดจากการมีความผิดปกติหรือโรคของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายในส่วนของท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน (Pelvic cavity) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดขึ้นแบบเฉียบพลันหรือปวดแบบเรื้อรังนาน ๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ต่างกันไป โดยสาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ ของอาการปวดท้องน้อย คือ ปวดประจำเดือน, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ไส้ติ่งอักเสบ, ปีกมดลูกอักเสบ และการตั้งครรภ์นอกมดลูก

อาการนี้เป็นอาการที่พบได้มากในผู้หญิงและมากกว่าผู้ชายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่อายุประมาณ 12 ปี (เริ่มมีประจำเดือน) ถึงอายุประมาณ 50 ปี (วัยหมดประจำเดือน) ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโครงสร้างทางร่างกายที่เอื้อต่อการเกิดความผิดปกติที่ทำให้เกิดอาการปวด อีกทั้งยังมีอวัยวะและระบบการทำงานของร่างกายที่เอื้อต่อการเกิดอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังได้มากกว่า ซึ่งในชีวิตของผู้หญิงทุกคนจะต้องมีอาการปวดท้องน้อยหรือปวดในอุ้งเชิงกรานมาบ้างแล้ว บางทีปวดน้อย บางทีปวดมาก บางทีปวดนาน ๆ ครั้ง หรือปวดแบบเรื้อรัง

อวัยวะภายในท้องน้อย ช่องท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน (Pelvic cavity) จะประกอบไปด้วยระบบทางเดินปัสสาวะ (กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ไต และท่อไตส่วนล่าง), ลำไส้เล็กส่วนล่าง, ลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง (ลำไส้ตรงทวารหนัก), ไส้ติ่ง, เนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่าง ๆ (เช่น หลอดเลือด เส้นประสาท ระบบน้ำเหลือง กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อพังผืด) และส่วนที่แตกต่างกันไปตามเพศ คือ ในผู้หญิงจะมีมดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ท่อรังไข่ และช่องคลอด ส่วนในผู้ชาย คือ ต่อมลูกหมาก ซึ่งการที่จะหาสาเหตุของอาการปวดท้องน้อยได้บางครั้งก็เป็นเรื่องยุ่งยากในการค้นหา และสาเหตุบางอย่างก็เป็นอันตรายได้ โดยเฉพาะถ้าปวดจนรู้สึกว่ามีผลต่อการดำเนินชีวิตหรือมากจนสุดทนในบางคราว

สาเหตุของการปวดท้องน้อย
อาการปวดท้องน้อยเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ และแต่ละสาเหตุก็ทำให้มีอาการปวดได้แตกต่างกันไป เช่น ไส้ติ่งอักเสบ (กดเจ็บตรงท้องน้อยด้านขวา), ปีกมดลูกอักเสบ (กดเจ็บตรงท้องน้อยทั้ง 2 ข้าง หรือด้านซ้ายหรือด้านขวาเพียงข้างเดียว และมีไข้สูง), กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น และเคาะเจ็บที่สีข้าง), การอักเสบของลำไส้ใหญ่, การอักเสบของลำไส้เล็กส่วนที่อยู่ในท้องน้อย, กระเพาะปัสสาวะอักเสบ, กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อในท้องน้อยอักเสบ, การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย), นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ, นิ่วในท่อไตส่วนล่าง (ปวดตรงท้องน้อยหรือสีข้างและร้าวไปที่ช่องคลอดข้างเดียวกัน), ปวดประจำเดือน (ปวดเวลามีประจำเดือน), เลือดออกทางช่องคลอด, ปวดท้องคลอด (ปวดบิดเป็นพัก ๆ ครรภ์แก่และมีลักษณะแบบปวดท้องคลอด), รกลอกตัวก่อนกำหนด (อายุครรภ์มากกว่า 6 เดือน และมดลูกเกร็งแข็ง), ตั้งครรภ์นอกมดลูก (ประจำเดือนขาดไม่เกิน 3 เดือน และลุกนั่งจะเป็นลม), แท้งบุตร (ประจำเดือนขาด มีอาการตกเลือดทางช่องคลอด และมีเศษเนื้อหรือเศษรกออกมา), เนื้องอกรังไข่, ถุงน้ำรังไข่, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่, เนื้องอกมดลูก (มีประจำเดือนออกมาก หรือกะปริดกะปรอย หรือมีบุตรยาก), โรคมะเร็งของอวัยวะเพศหญิง (เช่น มะเร็งรังไข่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก), ต่อมลูกหมากอักเสบ, มะเร็งต่อมลูกหมาก, ขัดเบา, ท้องเดิน, ตกขาว หรือแม้กระทั่งภาวะทางจิตใจหรือภาวะเครียด เป็นต้น

อาการปวดท้องน้อยสามารถแยกออกได้เป็น 2-3 กลุ่ม คือ

ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน (Acute pelvic pain) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องน้อยเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด และมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หรือมีอาการเป็นลมในบางราย สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงที่อวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุหรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย และมักเกิดจากสาเหตุเพียงอย่างเดียว ที่พบได้บ่อย ๆ เช่น
การอักเสบต่าง ๆ ได้แก่ มดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ ลำไส้อักเสบ ไส้ติ่งอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เนื้องอกรังไข่ อาจมีลักษณะเป็นเนื้องอกตันหรือถุงน้ำ (Cyst) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแบบตื้อ ๆ ถ่วง ๆ ท้องน้อย แบบเกิดขึ้นทันทีทันใด ถ้าถุงน้ำมีการรั่วจะทำให้น้ำหรือเลือดออกมาในช่องท้องหรือมีการบิดตัวที่ขั้วถุงน้ำ
การตั้งครรภ์นอกมดลูก คือ การตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไปเกาะเจริญอยู่นอกตัวมดลูก ซึ่งมักเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ (หลังจากปฏิสนธิตัวอ่อน) เมื่อเจริญมากขึ้นก็ดันท่อนำไข่โป่งและแตก จะทำให้มีเลือดไหลออกมาในช่องท้อง ทำให้ปวดและมีอาการเสียเลือด ผู้ป่วยอาจมีอาการช็อกและเสียชีวิตได้
ถุงน้ำรังไข่แตก รั่ว หรือบิดขั้ว
ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน
ปวดท้องน้อยตรงกลาง ตั้งครรภ์
HonestDocs
[url]https://www.honestdocs.co/pregnancy-morning-sickness[/url]
[url]http://www.honestdocs.co/sitemap[/url]