[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 294 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ blog
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
รวมเว็บที่น่าสนใจ
  

  หมวดหมู่ : สุขศึกษาและพลศึกษา
เรื่อง : ร่างกายมนุษย์
blog name : chitchnok
ระดับ : [ มือใหม่ ]
เข้าชม : 93
อังคาร ที่ 12 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2566
A- A A+
        

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจน ออกซิเจน คาร์บอน แคลเซียม และฟอสฟอรัส[1] ธาตุเหล่านี้อยู่ในเซลล์นับล้านล้านและส่วนประกอบที่ไม่ใช่เซลล์ในร่างกายมนุษย์

ประมาณร้อยละ 60 ของร่างกายชายโตเต็มวัยเป็นน้ำ คิดเป็นปริมาณประมาณ 42 ลิตร ในจำนวนนี้ 19 ลิตรเป็นน้ำภายนอกเซลล์รวมถึงน้ำเลือดปริมาณ 3.2 ลิตร และสารน้ำแทรกปริมาณ 8.4 ลิตร และส่วนที่เหลือเป็นน้ำภายในเซลล์จำนวน 23 ลิตร[2] ส่วนประกอบและความเป็นกรดของน้ำทั้งในและนอกเซลล์ถูกรักษาไว้อย่างดี อิเล็กโทรไลต์หลักของน้ำภายนอกเซลล์ในร่างกายได้แก่ โซเดียม และคลอไรด์ ส่วนสำหรับน้ำภายในเซลล์ได้แก่โพแทสเซียมและฟอสเฟตอื่น[3]

เซลล์
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์นับล้านล้านซึ่งเป็นหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต[4] ขณะโตเต็มวัย มนุษย์มีเซลล์ประมาณ 30[5]–37[6] ล้านล้านเซลล์ในร่างกาย ปริมาณจากจำนวนเซลล์ทั้งหมดในอวัยวะต่าง ๆ และเซลล์ประเภทต่าง ๆ นอกจากนี้ร่างกายยังเป็นที่อาศัยของเซลล์ที่ไม่ใช่มนุษย์จำนวนเท่า ๆ กัน[5] รวมถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ซึ่งอาศัยในทางเดินอาหารและบนผิวหนัง[7] ร่างกายไม่ได้ประกอบไปด้วยเซลล์เพียงอย่างเดียว เซลล์ตั้งอยู่ในสารเคลือบเซลล์ที่ประกอบด้วยโปรตีน เช่น คอลลาเจน ล้อมรอบด้วยน้ำภายนอกเซลล์ มนุษย์ที่น้ำหนัก 70 กิโลกรัมมีเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์มนุษย์และวัสดุที่ไม่ใช่เซลล์ เช่น กระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน น้ำหนักเกือบ 25 กิโลกรัม[5]

เซลล์ในร่างกายทำงานได้ด้วยดีเอ็นเอซึ่งอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ข้างในนิวเคลียส ส่วนของดีเอ็นเอถูกคัดลอกและส่งไปยังตัวของเซลล์ในรูปแบบของอาร์เอ็นเอ[8] จากนั้นอาร์เอ็นเอถูกใช้เพื่อสร้างโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานสำหรับเซลล์ กิจกรรมของเซลล์ และผลิตภัณฑ์ของเซลล์ โปรตีนเป็นตัวกำหนดหน้าของเซลล์และการแสดงออกของยีน เซลล์สามารถควบคุมตัวเองได้จากปริมาณโปรตีนที่ผลิต[9] อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกเซลล์ที่จะมีดีเอ็นเอ เซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงสูญเสียนิวเคลียสเมื่อโตเต็มที่

เนื้อเยื่อ
วิดีโอจากแหล่งข้อมูลภายนอก
Human Body 101, National Geographic, 5:10
ร่างกายประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อหลายแบบ โดยเนื้อเยื่อถูกให้ความหมายว่าคือกลุ่มเซลล์ที่มีหน้าที่เฉพาะ[10] การศึกษาเกี่ยวกับเนื้อเยื่อเรียกว่ามิญชวิทยาและมักศึกษาผ่านกล้องจุลทรรศน์ ร่างกายประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อสี่ชนิดหลัก คือ เนื้อเยื่อบุผิว เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เนื้อเยื่อประสาท และเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

เซลล์ที่ตั้งอยู่บนพื้นผิวที่พบกับโลกภายนอกหรือในทางเดินอาหาร (เนื้อเยื่อบุผิว) หรือเนื้อเยื่อบุโพรง (endothelium) มีหลายรูปแบบและรูปร่าง ตั้งแต่เซลล์แบนชั้นเดียว ไปจนถึงเซลล์ในปอดที่มีซีเลียคล้ายเส้นผม ไปจนถึงเซลล์แท่งทรงกระบอกที่บุกระเพาะอาหาร เซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงเป็นเซลล์ที่บุช่องภายในรวมทั้งเส้นเลือดและต่อมต่าง ๆ เซลล์บุควบคุมว่าสิ่งไหนสามารถผ่านหรือไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ ปกป้องโครงสร้างภายใน และทำหน้าที่เป็นพื้นผิวรับความรู้สึก[11]

อวัยวะ
ดูเพิ่ม: รายการอวัยวะของร่างกายมนุษย์
อวัยวะเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีโครงสร้างและหน้าที่เฉพาะ[12] ซึ่งตั้งอยู่ภายในร่างกาย ตัวอย่างเช่น หัวใจ ปอด และตับ อวัยวะหลายอย่างอยู่ในช่องว่างภายในร่างกายรวมถึงช่องว่างในลำตัวและโพรงเยื่อหุ้มปอด

ระบบ
ดูเพิ่ม: รายการระบบของร่างกายมนุษย์

ระบบไหลเวียน
บทความหลัก: ระบบไหลเวียน
ระบบไหลเวียนประกอบด้วยหัวใจ หลอดเลือด (หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ และหลอดเลือดฝอย) หัวใจทำหน้าที่ขับเคลื่อนการไหลเวียนของเลือด โดยเลือดเป็นดั่ง "ระบบขนส่ง" ในการขนย้ายออกซิเจน เชื้อเพลิง สารอาหาร ของเสีย เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน และตัวนำส่งสารเคมี (เช่น ฮอร์โมน) จากส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วน เลือดประกอบด้วยน้ำที่ขนส่งเซลล์ในระบบไหลเวียน รวมถึงบางเซลล์ที่เดินทางจากเนื้อเยื่อไปกลับหลอดเลือด รวมทั้งไปยังและจากม้ามและไขกระดูก[13][14][15]


ระบบย่อยอาหาร
บทความหลัก: ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยปากรวมถึงลิ้นและฟัน, หลอดอาหาร, กระเพาะอาหาร, ทางเดินอาหาร, ลำไส้เล็กและใหญ่ รวมถึงไส้ตรง รวมถึงตับ, ตับอ่อน, ถุงน้ำดี และต่อมน้ำลาย ทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารเป็นโมเลกุลที่เล็ก มีคุณค่าทางอาหาร และไม่เป็นพิษ เพื่อให้สามารถกระจายและดูดซึมได้ในร่างกาย[16]


ระบบต่อมไร้ท่อ
บทความหลัก: ระบบต่อมไร้ท่อ
ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยต่อมไร้ท่อหลัก รวมถึง ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ตับอ่อน ต่อมพาราไทรอยด์ และต่อมบ่งเพศ ทว่าอวัยวะและเนื้อเยื่อเกือบทั้งหมดผลิตฮอร์โมนต่อมไร้ท่อเฉพาะเช่นกัน ฮอร์โมนต่อมไร้ท่อทำหน้าที่เป็นตัวส่งสัญญาณจากระบบร่างกายหนึ่งไปยังอีกระบบหนึ่งเพื่อบอกถึงสถานะต่าง ๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงาน[17]


ระบบภูมิคุ้มกัน
บทความหลัก: ระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบภูมิคุ้มกันประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวและแดงทำงานปกติ ต่อมไทมัส ต่อมน้ำเหลือง และทางเดินน้ำเหลือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำเหลือง ระบบภูมิคุ้มกันทำให้ร่างกายสามารถแยกแยะเซลล์และเนื้อเยื่อตนเองออกจากเซลล์และสิ่งภายนอก เพื่อต่อต้านหรือทำลายเซลล์หรือสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกโดยใช้โปรตีนเฉพาะและ เช่น แอนติบอดี ไซโตไคน์, toll-like receptors และอื่น ๆ


ระบบผิวหนัง
บทความหลัก: ระบบผิวหนัง
ระบบผิวหนังประกอบด้วยผิวหนังที่ปกคลุมร่างกาย รวมถึง เส้นผม และเล็บรวมถึงโครงสร้างอื่น ๆ ที่มีหน้าที่สำคัญ เช่น ต่อมเหงื่อและต่อมไขมัน ผิวหนังทำหน้าที่ห่อหุ่ม เป็นโครงสร้าง และป้องกันอวัยวะอื่น และยังเป็นตัวรับรู้ถึงโลกภายนอก[18][19]


ระบบน้ำเหลือง
บทความหลัก: ระบบน้ำเหลือง
ระบบน้ำเหลืองสกัด ขนส่ง และเปลี่ยนแปลงน้ำเหลือง หรือน้ำที่อยู่ระหว่างเซลล์ ระบบน้ำเหลืองคล้ายกับระบบไหลเวียนทั้งในเชิงโครงสร้างและหน้าที่พื้นฐานซึ่งคือการขนส่งน้ำในร่างกาย[20]


ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
บทความหลัก: ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกประกอบด้วยโครงกระดูกมนุษย์ (รวมถึงกระดูก เอ็นยึด เอ็นกล้ามเนื้อ และกระดูกอ่อน) และกล้ามเนื้อที่ยึดติด ระบบนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของร่างกายและเป็นตัวให้ความสามารถในการขยับ นอกจากจะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างแล้ว กระดูกชิ้นใหญ่ในร่างกายยังบรรจุไขกระดูก ซึ่งเป็นที่ผลิตเซลล์เม็ดเลือด นอกจากนี้ กระดูกทุกชิ้นยังเป็นที่เก็บสะสมหลักของแคลเซียมและฟอสเฟต ระบบนี้สามารถแบ่งออกเป็นระบบกล้ามเนื้อและระบบกระดูก[21]


ระบบประสาท
บทความหลัก: ระบบประสาท
ระบบประสาทประกอบด้วยระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) และระบบประสาทนอกส่วนกลางประกอบด้วยเส้นประสาทและปมประสาทนอกสมองและไขสันหลัง สมองเป็นอวัยวะแห่งความคิด อารมณ์ ความทรงจำ และการประมวนทางประสาทสัมผัส และทำหน้าที่ในหลายมุมมองของการสื่อสารและควบคุมระบบและหน้าที่ต่าง ๆ ความรู้สึกพิเศษประกอบด้วย การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส และการดมกลิ่น ซึ่ง ตา,หู, ลิ้น, และจมูกรวบรวมข้อมูลจากสิ่งรอบตัว[22]


ระบบสืบพันธุ์
บทความหลัก: ระบบสืบพันธุ์มนุษย์
ระบบสืบพันธุ์ประกอบด้วยต่อมบ่งเพศและอวัยวะเพศทั้งภายในและภายนอก ระบบสืบพันธุ์ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ในแต่ละเพศ, ให้กลไกสำหรับการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์, และสำหรับเพศหญิงยังให้สิ่งแวดล้อมในการพัฒนาทารกในเก้าเดือนแรก[23]


ระบบหายใจ
บทความหลัก: ระบบหายใจ
ระบบหายใจประกอบด้วยจมูก คอหอย หลอดลม และปอด อวัยวะเหล่านี้นำออกซิเจนจากอากาศและขับคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำกลับไปยังอากาศ[24]


ระบบทางเดินปัสสาวะ
บทความหลัก: ระบบทางเดินปัสสาวะ
ระบบทางเดินปัสสาวะประกอบด้วยไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โดยทำหน้าที่ขับสิ่งเป็นพิษออกจากเลือดเพื่อผลิตปัสสาวะซึ่งขนส่งโมเลกุลของเสียและไอออนส่วนเกินและน้ำออกจากร่างกาย[25]



Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.
รายละเอียดผู้เขียนบทความ blog
blog name :
เจ้าของ blog :
อาชีพ :
สถานที่ทำงาน :
จำนวนบทความใน blog :
ระดับของ blog :
chitchnok
ชิดชนก ผิวอ่อน
6/12/2548

6 เรื่อง
[ มือใหม่ ]

สุขศึกษาและพลศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      พลศึกษา 12/ธ.ค./2566
      โรคหัวใจ 12/ธ.ค./2566
      การออกกำลังกาย 12/ธ.ค./2566
      ระบบทำงานของอวัยวะ 12/ธ.ค./2566
      การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ กิจกรรมสำคัญที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน 12/ธ.ค./2566


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ skp209.bancha@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป