หัวข้องานวิจัย รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ผู้วิจัย นายอุดม ยกพล หน่วยงานที่รับผิดชอบ โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม
การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 23 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 1 คน ครูผู้สอนโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม จำนวน 22 คน 2) กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ครูผู้สอนที่เป็นกลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 22 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 25 คน ประกอบด้วย 3.1) ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษาที่โรงเรียนจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เช่นกัน ร่วมกำกับ ติดตาม ให้คำปรึกษา และนิเทศในการดำเนินการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School จำนวน 2 คน 3.2) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสังเกต แบบบันทึกประเด็นสนทนากลุ่มและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̅) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ค่า Wilcoxon Signed Ranks Test และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School พบว่า กฎหมาย นโยบาย และแนวคิดทฤษฎีทางการศึกษา ในระดับต่าง ๆ ล้วนให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษา และจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดของผู้เรียน และทักษะในศตวรรษที่ 21 เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 6 แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560–2579) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) 2545 มาตรา 52 ข้อเสนอแนะในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 แนวคิดปรัชญา Constructivism ทฤษฎีพหุปัญญา เป็นต้น ส่วนการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School นั้น พบว่า ปัญหาที่ต้องทำการแก้ไขเร่งด่วน คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งผลการเรียนเฉลี่ยรวมทุกรายวิชาต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม ปีการศึกษา 2565 ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวมระดับประเทศ ครู ร้อยละ 80 ยังขาดศักยภาพและสมรรถนะในการจัดการเรียนรู้และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนจากข้อมูลพื้นฐานและสภาพความต้องการดังกล่าวจึงนำมาสู่การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School 2. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาวิเคราะห์ 2) การออกแบบและการพัฒนา 3) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School (CADDER Model) ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 Competency : C การกำหนดสมรรถนะของครู ขั้นที่ 2 Analysis : A การวิเคราะห์สมรรถนะครู ขั้นที่ 3 Development : D การพัฒนาสมรรถนะครู ขั้นที่ 4 Do : D การลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 5 Evaluation : E การประเมินผล ขั้นที่ 6 Reflection : R การทบทวนผลการปฏิบัติงาน 3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School พบว่า 3.1 การประเมินผลการฝึกอบรมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.64, S.D = 0.62) 3.2 การทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 1 โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School (CADDER Model) (x̅ = 34.33, S.D. = 3.02) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School (CADDER Model) (x̅ = 19.38, S.D. = 3.76) 3.3 การประเมินสมรรถนะครูที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Thinking School โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ตามระดับที่คาดหวัง (x̅ = -3.46, S.D. = 0.53) ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ข้อ 2 3.4 การสังเกตการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ของครูโดยภาพรวมครูมีการปฏิบัติได้ดี (x̅ = 4.41, S.D.= 0.66) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 4. ผลการประเมินผลกระทบการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์- วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School พบว่า 4.1 ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School โดยภาพรวม ครู ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School อยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.65, S.D. = 0.53) ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อ 3 4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยเปรียบเทียบระหว่างผลสัมฤทธิ์ ปีการศึกษาที่วิจัยกับผลสัมฤทธิ์ในปีการศึกษาที่ผ่านมา ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม ปีการศึกษา 2565–2566 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีร้อยละของคะแนนเฉลี่ย ปีการศึกษา 2566 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking school ปีการศึกษา 2566 เปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2565 โดยรวม ปีการศึกษา 2566 มีผลการเรียนเฉลี่ยสูงกว่าปีการศึกษา 2565 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4 โดยหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ในปีการศึกษา 2566 ผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย (x̅ = 3.06) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ในปีการศึกษา 2565 (x̅ = 2.92) และนักเรียนที่มีผลการเรียนในระดับดีขึ้นไปในปีการศึกษา 2566 ร้อยละ 61.53 สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคมเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ในปีการศึกษา 2565 ร้อยละ 52.47 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4 4.3 ผลจากการสนทนากลุ่มร่วมกันโดยผู้วิจัย ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และครูกลุ่มเป้าหมาย สรุปว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองจันทร์วิทยาคม เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมและสอดคล้องสัมพันธ์กัน การพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวคิดตามแนวทาง Thinking School เป็นกระบวนการที่เป็นประโยชน์และสามารถพัฒนาสมรรถนะครูได้จริงตามเป้าหมายที่วางไว้ รวมทั้งเป็นกระบวนการในแต่ละขั้นตอนมีความต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน ทำให้ส่งผลต่อการพัฒนาทั้งด้านการจัดการเรียนรู้ การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ รวมทั้งส่งผลต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น โดยครูต้องมีความมุ่งมั่นจริงใจในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามขั้นตอนการสอนคิดตามแนวทาง Thinking school อย่างเคร่งครัดด้วยความเต็มใจ ร่วมมือกันและมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติทุกขั้นตอน ผู้บริหารต้องให้การสนับสนุนทั้งทางด้านการจัดการอบรม งบประมาณ สื่อ วัสดุ สิ่งอำนวยความสะดวกและสร้างขวัญกำลังใจ สร้างแรงจูงใจให้กับครู และใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ในขั้นตอนการปฏิบัติของการใช้รูปแบบ