[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 312 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ blog
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
รวมเว็บที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
แผลในกระเพาะอาหาร  VIEW : 1651    
โดย ดร. ภัทร

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 155
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 10
Exp : 6%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 43.249.60.xxx

 
เมื่อ : จันทร์ ที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ.2560 เวลา 17:54:59   

แผลในกระเพาะอาหาร
แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) คือ แผลที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุของกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น อาการที่พบได้บ่อยคือปวดท้อง มักมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร หรือการใช้ยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดเป็นเวลานาน เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน เป็นต้น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดอาจทำให้อาการแย่ลงได้ แผลในกระเพาะอาหารพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป หากปล่อยไว้แล้วไม่ได้รับการรักษาจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
อาการของแผลในกระเพาะอาหาร

อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหารคือ ปวดท้องหรือแสบที่กระเพาะอาหาร มักมีอาการตอนท้องว่างหรือประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร อาจตื่นกลางดึกจากอาการปวดหรือแสบท้อง อาการจะดีขึ้นเมื่อรับประทานอาหารหรือยาลดกรด และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังต่อไปนี้

แสบร้อนกลางอก
คลื่นไส้ อาเจียน
หายใจลำบาก
รู้สึกจะเป็นลม
น้ำหนักลดลง
เบื่ออาหาร
อาหารไม่ย่อย
เรอ แน่นท้อง หรือท้องอืด หลังรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
ควรไปพบแพทย์หากพบอาการข้างต้นหรือมีอาการปวดอีกครั้งหลังรับประทานยาลดกรด และควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนหากอาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด รู้สึกเจ็บแปลบที่ท้อง หรือมีอาการแย่ลง
สาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร

ในระบบทางเดินอาหารจะมีชั้นเมือก (Mucous) เคลือบอยู่ หากปริมาณของน้ำเมือกและกรดไม่สมดุลกัน จะทำให้เกิดแผลที่เยื่อบุของกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นได้ โรคแผลในกระเพาะอาหารมีหลายสาเหตุดังต่อไปนี้

เชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไร (H. Pylori) จะอาศัยอยู่ในเยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุให้เกิดการระคายเคืองและเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความเสียหายจากกรดในกระเพาะอาหาร ติดเชื้อได้กับทุกวัย แต่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดผู้ป่วยบางรายจึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียเอชไพโลไรได้มากกว่าผู้ป่วยรายอื่น ๆ
การใช้ยาแอสไพริน (Aspirin) ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) นาโปรเซน (Naproxen) รวมถึงยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มยาเอ็นเสด (NSAIDs) อื่น ๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่ใช้ยารักษาโรคข้อเข่าเสื่อม รวมถึงการใช้ยาแก้ปวดต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดร่วมกับยาชนิดอื่น ๆ ได้แก่
ยาสเตียรอยด์ (Steroids)
ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น เฮพาริน (Heparin) วอร์ฟาริน (Warfarin)
ยารักษาโรคซึมเศร้า (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors: SSRIs) เช่น ไซตาโลแพรม (Citalopram) ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine) พาร็อกซีทีน (Paroxetine) เซอร์ทราลีน (Sertraline)
ยารักษาโรคกระดูกพรุน เช่น อะเลนโดรเนท (Alendronate) ไรซีโรเนต (Risedronate)
ปัจจัยอื่น ๆ และพฤติกรรมบางอย่าง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ เช่น
การสูบบุหรี่
การดื่มแอลกอฮอล์
การรับประทานอาหารที่มีรสเผ็ด
ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
พบได้มากขึ้นในผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ผู้ที่มีระดับแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)
แผลในกระเพาะอาหาร
Honestdocs
[url]https://www.honestdocs.co/stomach-ulcer-acid[/url]
[url]https://www.honestdocs.co[/url]