[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 312 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ blog
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
รวมเว็บที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ปวดหลัง  VIEW : 1660    
โดย K.Sirintorn

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 4
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 1
Exp : 80%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 61.91.28.xxx

 
เมื่อ : อังคาร ที่ 15 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 14:29:03   

ปวดหลัง
สุขภาพ

ปวดหลัง (Backache) เป็นอาการปวดเมื่อย ตึง ร้าว หรือเจ็บที่หลัง สามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่บริเวณคอลงไปจนถึงก้นและขา ส่งผลมาจากหลายสาเหตุ เช่น กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ยืน เดินหรือนั่งไม่ถูกท่า ยกของหนักเกินไป อุบัติเหตุ การกระแทก การเล่นกีฬา หรือเป็นผลมาจากโรคต่าง ๆ ปวดหลังเป็นอาการที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ใช่แค่กับผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเผชิญกับอาการปวดหลัง แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนวัยทำงาน
สาเหตุของอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน การทำท่าทางที่ไม่ถูกต้องสะสมเป็นเวลานาน การเคล็ดขัดยอก การตึง การอักเสบของกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบริเวณหลัง ปัญหาของหมอนรองกระดูก ปัญหาของกระดูกสันหลังและเส้นประสาท ปัญหาจากโรค หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งอาการปวดหลังจะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายและการดำเนินชีวิตประจำวัน

การวินิจฉัยอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังโดยทั่วไปถ้าเกิดจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรืออาการเคล็ดขัดยอก ยังไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ในทันที แต่ถ้ารู้สึกว่ามีอาการรุนแรงก็สามารถไปพบแพทย์ได้เช่นกัน โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน อาชีพ ไลฟ์สไตล์ที่ทำในช่วงที่ผ่านมา เพื่อดูว่าเริ่มมีอาการปวดหลังตั้งแต่เมื่อไหร่ มีอาการตรงบริเวณไหน เคยปวดหรือเจ็บหลังมาก่อนหน้านี้หรือไม่

การรักษาอาการปวดหลัง

การรักษาอาการปวดหลังมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ หรือสาเหตุของการทำให้เกิดอาการปวดหลัง ถ้าเป็นอาการปวดในระยะสั้นคือเพิ่งปวดหรือปวดไม่มาก สามารถบรรเทาได้ด้วยตัวเองโดยการทาครีมบรรเทาอาการปวด หรือรับประทานยาแก้ปวดที่วางขายตามร้านขายยาทั่วไป หากใช้ยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลข้างเคียงต่อการทำงานของไตและเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้ ส่วนอาการปวดรุนแรงหรือเรื้อรัง แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดควบคู่ไปกับการรักษารูปแบบอื่น เช่น การทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม หรืออาจรวมไปถึงการตรวจจำพวกเอกซเรย์หรือ Magnetic Resonance Imaging (MRI) และการผ่าตัดร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดหลัง

ภาวะแทรกซ้อนของอาการปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้ หากปล่อยไว้นานและไม่รีบเข้ารับการรักษาให้ทันเวลา หากพบว่ามีอาการปวดหลังติดต่อกันนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ ไม่บรรเทาหรือมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

การป้องกันอาการปวดหลัง

การป้องกันอาการปวดหลังสามารถทำได้หลายวิธี โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หลัง การยืน การเดิน การนั่ง หรือการนอน รวมไปถึงการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น ทำให้ยากต่อการอักเสบหรืออ่อนล้าและไม่กลับไปสู่อาการปวดหลังอีก