ยาแก้อักเสบ
ยาแก้อักเสบ หรือ ยาต้านอาการอักเสบ เป็นหนึ่งในยาที่หลายๆ คนคงได้ยินชื่อกันอยู่บ่อยๆ และหลายๆ คนก็มักจะหาซื้อยาดังกล่าวมาใช้เอง เพียงเพราะอาจจะรู้สึกเจ็บคอ เจ็บหู หรือเกิดแผลจากการล้ม เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ยาแก้อักเสบที่ซื้อมานั้น ในทางการแพทย์เรียกว่า “ยาปฏิชีวนะ” หรืออาจเรียกอีกชื่อว่า “ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” ซึ่งมีสรรพคุณในการทำลาย หยุดยั้ง และป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการอักเสบ ชาวบ้านก็เลยนิยมเรียกว่ายาแก้อักเสบ
เกาต์“ยาแก้อักเสบ” ที่ถูกต้องในทางการแพทย์นั้น จะใช้เพื่อหยุดยั้งการสร้างสารชนิดหนึ่งของร่างกายที่ชื่อว่า “พรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin)” ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบ และโดยส่วนใหญ่ แพทย์มักใช้ยาแก้อักเสบเพื่อต้านอาการอักเสบของผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับข้อต่อกระดูกส่วนต่างๆ การอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น เยื้อหุ้มปอด เยื้อหุ้มหัวใจ เป็นต้น
สรรพคุณของ “ตัวยาแก้อักเสบชนิดต่างๆ”
อินโดเมทาซิน (Indomethacin) เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณในการแก้อักเสบของโรคปวดข้อรูมาตอยด์ ข้อสันหลังอักเสบเรื้อรัง เกาต์ระยะเฉียบพลัน ข้อเสื่อมชนิดรุนแรง ลดอาการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อที่เกิดจากการข้อเคล็ดหรือข้อแพลงไอบูโพรเฟน (ชนิดเม็ด)
ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณในการรักษาเหมือนกันตัวยาอินโดเมทาซิน (Indomethacin) และยังมีสรรพคุณในการลดไข้ แก้ปวด บรรเทาอาการปวดประจำเดือนและอาการปวดไมเกรน
นาโพรเซน (Naproxen) เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณเช่นเดียวกับตัวยาไอปูโพรเฟน (Ibuprofen)
ไดโคลฟีแนก (Diclofenac) เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณเหมือนกับไอปูโพรเฟน (Ibuprofen) และยังมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดนิ่วในท่อไต
ไพร็อกซิแคม (Piroxicam) เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณเหมือนกับตัวยาทั้ง 4 ชนิดในข้างต้น และยังมีสรรพคุณในการบรรเทาอาการปวดแผลหลังคลอดและอาการปวดแผลหลังผ่าตัด
ยาแก้อักเสบ แต่ละชนิดจะมีสรรพคุณในการรักษาและบรรเทาอาการค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก ดังนั้น ผลข้างเคียงและข้อห้ามในการใช้ยาแต่ละชนิดจึงไม่ค่อยแตกต่างกันเท่าไหร่ ซึ่งหากผู้อ่านต้องการทราบถึงรายละเอียดดังกล่าว แนะนำให้อ่านได้ที่บทความ “ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)” และ “ไดโคลฟีแนก (Diclofenac)“ ซึ่งเป็นตัวยาที่ได้รับความนิยมในการใช้เพื่อต้านอาการอักเสบ และทั้ง 2 บทความ ยังได้อธิบายถึงสรรพคุณและวิธีการใช้ยาอีกด้วย
ถึงแม้ว่าเราจะมีความรู้เกี่ยวกับ “ยาแก้อักเสบ“ แต่ตัวยากลุ่มนี้เป็นตัวที่ไม่ควรซื้อมาใช้ด้วยตนเอง เพราะยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับตัวยาอีกมากที่เราอาจไม่รู้ ดังนั้น หากมีอาการป่วยที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับสรรพคุณของตัวยาแก้อักเสบ เช่น ปวดข้อ ปวดประจำเดือนรุนแรง ปวดหัวเหมือนเป็นไมเกรน เป็นต้น เราควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการให้ถูกต้อง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้สามารถรักษาอาการได้อย่างถูกต้อง หรือบางทีอาจไม่ต้องใช้ยาแก้อักเสบเลยก็เป็นได้ หรือถ้าต้องใช้จริง ก็จะได้รับยาที่ถูกต้อง ตรงกับอาการที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะทำให้หายจากอาการป่วยได้จริง
ยาแก้อักเสบ
HonestDocs
[url]https://www.honestdocs.co/how-to-take-antibiotics-the-right-way[/url]
[url]www.honestdocs.co/sitemap[/url]
|