ชื่อเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัย นางนิตณพา แข่งขัน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ ปีที่วิจัย 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนศรีแก้วพิทยา อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เพื่อใช้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้ค่าดัชนี ความสอดคล้องของแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เท่ากับ 1.00 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก จำนวน 9 เรื่อง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญ เท่ากับ ( = 4.38, S.D. = 0.42) ทดลองกับนักเรียนแบบเดี่ยวมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.37/81.67 ทดลองกับกลุ่มเล็ก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.60/82.78 ทดลองกับกลุ่มภาคสนาม มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.81/83.42 3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP จำนวน 11 แผน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ซึ่งได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้เฉลี่ยเท่ากับ 0.83 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้ทดสอบนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.70 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้สูตร KR-20 ของ Kuder Richardson มีค่าเท่ากับ 0.92 ค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.33 - 0.63 และมีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.20 - 0.73 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทดสอบ t – test for dependent samples ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.41/84.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และสอดคล้องกับสมมุติฐานข้อที่ 1 2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับสมมุติฐานข้อที่ 2 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนโปรแกรมภาษาโลโก โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบ MIAP โดยรวมนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (x ̅) เท่ากับ 4.24 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.45 และสอดคล้องกับสมมุติฐานข้อที่ 3