บทคัดย่อ :
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
สำหรับครูโรงเรียน ศรีแก้วพิทยา
ผู้วิจัย นายสุพจน์ ดำริห์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนศรีแก้วพิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับครูโรงเรียนศรีแก้วพิทยา มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อการพัฒนาดังนี้ 1.เพื่อศึกษาบริบทในการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับครูโรงเรียนศรีแก้วพิทยา 2.เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับครูโรงเรียนศรีแก้วพิทยาสร้างขึ้น มีกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) ฝ่ายบริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 2 คน หัวหน้าฝ่ายบริหารงาน 4 คน 2) ครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนศรีแก้วพิทยา จำนวน 31 คน 3) นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ระดับชั้นละ 10 คน โดยการเลือกแบบวิธีเจาะจง ( Purposive Sampling ) ซึ่งมีตัวแปรอิสระ คือ การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ตัวแปรตาม คือ สมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของครู ประกอบด้วย สมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สมรรถนะด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สมรรถนะด้านการเลือกใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้ สมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการวิจัยตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart (1988 อ้างในวีระยุทธ ชาตะกาญจน์,2557) โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.ขั้นการวางแผน (Planning) 2.ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action) ขั้นที่ 3 การสังเกตการณ์ (Observation) ขั้นที่ 4การสะท้อนกลับ (Reflection) และพัฒนารูปแบบบริหารงานวิชาการตามแนวคิดเชิงออกแบบ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1. การเข้าใจปัญหา (Empathise) 2. ร่วมคิด กำหนดปัญหาให้ชัดเจน (Define) 3.ระดมความคิด (Ideate) 4.สร้างต้นแบบที่เลือก (Prototype) 5.ทดสอบการแก้ไขปัญหา (Test) และ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของครู แบบประเมินรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม แบบสังเกตพฤติกรรมของครู แบบประเมินการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยข้อมูลร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น และการทดสอบค่าที (t-test) มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยวิธีการสอบถาม การฝึกอบรม การทดสอบคะแนนทดสอบก่อนและหลัง การประเมินการสอน การสังเกตการสอน ซึ่งตั้งเกณฑ์การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลได้ดังนี้
สรุปผลการวิจัย
1.ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับครูโรงเรียนศรีแก้วพิทยา
1.1 ก่อนการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยการประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครู และการสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครู อยู่ในเกณฑ์ระดับ พอใช้ มีจำนวนร้อยละ 66.35 ด้านความพึงพอใจของผู้เรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในเกณฑ์ระดับ มาก ร้อยละ 77.17
1.2 การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม โดยวิธีการจัดการอบรมการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม การทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม คะแนนสอบหลังสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การสอบถามความพึงพอใจการฝึกอบรมอยู่ในเกณฑ์ระดับ มากที่สุด ร้อยละ 88.27 การปฏิบัติการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดีมาก มีจำนวนร้อยละ 85.91 การสังเกตพฤติกรรมของครู อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดีมากร้อยละ 83.10 และการประเมินความเหมาะสมการจัดทำแผนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง ร้อยละ 78.71
1.3 หลังจากการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม จากการประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ของครู ทั้ง 4 ด้าน สมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สมรรถนะการใช้และพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สมรรถนะการวัดและประเมินผลการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดี ร้อยละ 86.18 และการสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ของครู ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม อยู่ในเกณฑ์ระดับ มาก ร้อยละ 80.83
2.ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับครูโรงเรียนศรีแก้วพิทยา โดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบมี 5 ขั้นตอน 1) ร่วมค้นหา ขั้นสร้างความเข้าใจ (Empathise) 2)ร่วมคิด ขั้นการตั้งโจทย์ปัญหา (Define) 3)ร่วมสร้าง ขั้นการสร้างความคิด (Ideate) 4) ร่วมใช้ ขั้นการสร้างต้นแบบ (Prototype) และ 5) ร่วมพัฒนา ขั้นทดสอบ (Test) ใช้วิธีการประเมินผลการพัฒนาทั้ง 5 ขั้นตอน มีผลการพัฒนาในเกณฑ์ระดับ มาก ร้อยละ 82.37
3.ผลความพึงพอใจในการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับครูโรงเรียนศรีแก้วพิทยา อยู่ในเกณฑ์ระดับ มาก ร้อยละ 80.84
สรุปได้ว่า ผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับครูโรงเรียนศรีแก้วพิทยา มีความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ระดับ มาก
|