การพัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อปฏิบัติการและศึกษาผลการปฏิบัติการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน แบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนก่อนและหลังปฏิบัติการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 4) เพื่อศึกษาบทเรียนการพัฒนาโรงเรียนผ่านรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนและการยอมรับ จากชุมชนและสังคม การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 2 การนำรูปแบบไปใช้ตามวงจรปฏิบัติการของ Kemmis & McTaggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การสังเกตผล และการสะท้อนผล ปฏิบัติการ 2 วงจร คือ วงจรที่ 1 ปีการศึกษา 2561-2562 และวงจรที่ 2 ปีการศึกษา 2562-2563 ระยะที่ 3 การประเมินผลการดำเนินการตามรูปแบบ และระยะที่ 4 การศึกษาบทเรียนการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยผ่านรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนและการยอมรับจากชุมชนและสังคม สรุปผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยกลยุทธ์ในการพัฒนา 4 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพครู 2) กลยุทธ์การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) กลยุทธ์การสร้างศรัทธา และ 4) กลยุทธ์ความเป็นหุ้นส่วน 2. ผลการดำเนินการตามกลยุทธ์ผ่านรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 13 โครงการ พบว่า ผลการดำเนินโครงการในวงจรที่ 1 ทั้ง 13 โครงการ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากทุกโครงการ และในวงจรที่ 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าวงจร ที่ 1 ทุกโครงการ 3. ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน ในด้านต่าง ๆ 4 ด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยแต่ละด้านที่เพิ่มขึ้น ทุกด้าน 4. ผลการการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนและการยอมรับจากชุมชน และสังคม พบว่านักเรียนกล้าคิด กล้าถาม กล้าแสดงออกมากขึ้น มีแรงบันดาลใจในการเรียน เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีสัมมาคารวะ เกิดทักษะการเรียนรู้ สามารถเชื่อมโยงกับชีวิตจริงได้ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการพัฒนาตนเอง จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนวิชาชีพ (PLC) สภาพแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียน เอื้อต่อการเรียนรู้ ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ผู้ปกครองมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษามากขึ้น ผลการศึกษาขวัญกำลังใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา พบว่า มีเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า ความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน แบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด