การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 โดยใช้สื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) ศึกษาค่าดัชนีประสิทธิภาพของ การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 โดยใช้สื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ศึกษาการใช้สื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังเรียนในปีการศึกษา 2559 โรงเรียนศรีแก้วพิทยา จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 69 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 20 ข้อ แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน โดยใช้สื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์สถิติในการใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัยพบว่าผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 โดยใช้สื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์มีประสิทธิภาพมีค่าเท่ากับ 82.60 /83.91 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 (2) ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 โดยใช้สื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์ มีค่าเท่ากับ 0.73 ซึ่งแสดงถึงนักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 73 ผลการวิเคราะห์ (3) ความพึงพอใจการศึกษาโดยใช้สื่อแบบมีปฏิสัมพันธ์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมพบว่า ระดับความพึงพอใจมากที่สุดได้แก่ นวัตกรรมมีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียน (x ̅ = 4.42)