[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 314 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ blog
ฝากข้อความ
  • ศิรินทร์ทิพย์ พิพิธศาลา:
  • ศิรินทร์ทิพย์ พิพิธศาลา: a3rt
  • ศิรินทร์ทิพย์ พิพิธศาลา: 4ojd
  • ประวิทย์: ผมบรรจุครั้งแรกที่ ศรีแก้ว ปี2535 คิดถึงจังครับ
  • อรรถณกรณ์ ศรีสังหะ: คิดถึงมากๆครับ14ปีแล้วไม่เคยเข้าไปเลยคิดถึงตอนปลูกข้าวโพด ปลูกต้นสัก ปลูกลำดวน ขนุน ไม่มีห้องเรียนลมหนาวมาสั้นจึกๆๆรักศรีแก้วพิทยาครับ
  • ศิริกุล: *--*
  • ประวิทย์: ผมอยากได้เบอร์โทร นายวันชัย จาก อ.ประวิทย์ เคยสอนที่ รร.ศรีแก้วพิทยา
  • จารุเดช : อยากให้โรงเรียนเปิดเทอมเร็วนะคราฟ
  • admin: ถ้าเข้ามาชมเว็บไซต์แล้วอย่าลืมลงนามสมุดเยี่ยมให้ด้วยนะครับ
  • admin: ศิษย์เก่าโรงเรียนศรีแก้วพิทยาทุกรุ่นลงทะเบียนได้แล้วครับ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
รวมเว็บที่น่าสนใจ
  

  หมวดหมู่ : ภาษาไทย
เรื่อง : กาพยานนี11
blog name : Krisada
ระดับ : [ มือใหม่ ]
เข้าชม : 9462
อังคาร ที่ 12 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2566
A- A A+
        

าพย์ยานี 11
กาพย์ยานี 11 เป็นคำประพันธ์ไทยประเภทกาพย์ ที่ได้รับความนิยมแต่งมากที่สุด กาพย์ยานี 11 สามารถแต่งได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งแต่งสลับกับคำประพันธ์ประเภทอื่นและแต่งเพียงลำพัง นิยมใช้บรรยายความงามของธรรมชาติ ความรัก ความเศร้า ความเหงา และเรื่องราวต่างๆ ในชีวิต มีรูปแบบการเขียนที่แน่นอนด้วย บท บาท และวรรค ตามแผนผังการเขียน

การเขียนกาพย์ยานี 11
กาพย์ยานี11 คือ การแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้ส่งสารออกไปเป็น ลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านเข้าใจ ได้รับทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก และความต้องการเหล่านั้น การถ่ายทอดโดยวิธีบอกเล่าปากต่อปาก หรือที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” อาจทำให้สารตกหล่นหรือคลาดเคลื่อนได้ง่าย ลายลักษณ์อักษรหรือที่ตัวหนังสือ ที่แท้จริงคือ เครื่องหมายที่ใช้แทนคำพูดนั่นเองพย์ยานี ได้ชื่อว่ายานี 11 เพราะ จำนวนพยางค์ใน 2 วรรค หรือ 1 บรรทัด รวมได้ 11 พยางค์

1 บท มี 4 วรรค วรรคหน้า 5 พยางค์ วรรคหลัง 6 พยางค์

สัมผัสระหว่างวรรค ใน 1 บท มีสัมผัส 2 คู่ สังเกตจากแผนผังและตัวอย่าง
สัมผัสระหว่างบท พยางค์สุดท้ายของบทต้น สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทถัดไป

พยางค์
พยางค์หรือคำ วรรคแรกมี 5 คำ วรรคหลังมี 6 คำ รวมเป็น 11 คำจึงเรียกว่า “กาพย์ยานี 11” ทั้งบาทเอกและบาทโทมีจำนวนคำเหมือนกัน

สัมผัส
คำสุดท้ายของวรรคที่ 1 สัมผัสกับคำที่ 1 , 2 และคำที่ 3 ของวรรคที่ 2
คำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 3
คำสุดท้ายของวรรคที่ 4 สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 ของบทรอ่านกาพย์ยานี 11 จะต้องแบ่งจังหวะการอ่านคำในแต่ละวรรคดังนี้ วรรคแรกมี 5 คำ

วรรคหลังมี 6 คำ การอ่านจึงเว้นเป็นจังหวะตามวรรคคือวรรคหน้าเว้นจังหวะ 2/3 คำ
ส่วนวรรคหลังเว้นจังหวะ 3/3 คำ

ประวัติกาพย์ยานี 11
กาพย์ มีที่มาไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นคำประพันธ์เดิมของไทย หรือรับมาจากชาติอื่น ตำรากาพย์เก่าแก่ที่มีอยู่ในปัจจุบันคือ กาพย์สารวิลาสินี และ กาพย์คันถะ แต่งเป็นภาษาบาลี ไม่ทราบชื่อผู้แต่ง แต่สันนิษฐานกันว่าแต่งขึ้นในล้านนาสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่ง กรุงศรีอยุธยา และเปลี่ยนแปลงมาจากกาพย์มคธเป็นกาพย์ไทยโดยบริบูรณ์ ประมาณรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา

พัฒนาการของกาพย์ยานี 11
กาพย์ยานีในยุคแรก ๆ บังคับเฉพาะสัมผัสระหว่างบาท และสัมผัสระหว่างบทเท่านั้น สัมผัสระหว่างวรรคไม่บังคับ

สมัยอยุธยายุคกลางและยุคปลายได้เพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคแรกกับวรรคที่ 2 แล้ว ต่อมา เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร กวีผู้ชำนาญเชิงกาพย์ ทรงเพิ่มสัมผัสสระในคำที่ 2 – 3 วรรคแรก และคำที่ 3 – 4 ในวรรคหลัง อย่างเป็นระบบ ทำให้จังหวะอ่านรับกันเพิ่มความไพเราะมากขึ้น และส่งอิทธิพลมาถึงกวีสมัยรัตนโกสินทร์ ตลอดถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

สุนทรภู่ ก็เป็นอีกตำนานหนึ่งที่ประยุกต์กาพย์ยานีของกรุงศรีอยุธยา โดยให้ความสำคัญกับสัมผัสเป็นหลัก มีการเพิ่มสัมผัสระหว่างวรรคที่ 3 กับวรรคที่ 4 รวมทั้งให้ความสำคัญกับน้ำหนักคำและน้ำเสียงด้วย

ขณะที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงกินกาพย์ยานี โดยละทิ้งสัมผัสไปมากแต่มาเล่นน้ำหนักของคำและทรงใช้สัมผัสอักษรแทนสัมผัสระหลายครั้ง และน่าจะเป็นตัวตั้งสำหรับกาพย์ยุคหลังๆ ครั้งที่นายผี (อัศนี พลจันทร) สร้างสรรค์กาพย์ยานีรูปใหม่

ในยุคกึ่งพุทธกาล นายผี หรือ อัศนี พลจันทร ได้สั่นสะเทือนวงการกาพย์ด้วยลีลาเฉพาะตัว โดยทิ้งสัมผัสในไปมาก หันมาใช้สัมผัสอักษรแทน เน้นคำโดดอันให้จังหวะสละสลวยจนคล้ายอินทรวิเชียรฉันท์กลายๆ

ความไพเราะของกาพย์ยานี 11
ความไพเราะของกาพย์ยานี 11 เกิดจากปัจจัยหลายประการ ดังนี้

สัมผัสสระ กาพย์ยานี 11 บังคับสัมผัสสระระหว่างวรรคที่ 1, 2 และ 3 สัมผัสสระนี้ช่วยให้เกิดความไพเราะและราบรื่นในการอ่านออกเสียง
สัมผัสพยัญชนะ กาพย์ยานี 11 บังคับสัมผัสพยัญชนะระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ 1 และคำสุดท้ายของวรรคที่ 2 สัมผัสพยัญชนะนี้ช่วยให้เกิดความกลมกลืนและหนักแน่นในการอ่านออกเสียง
ความสม่ำเสมอของจำนวนพยางค์ กาพย์ยานี 11 กำหนดจำนวนพยางค์ในแต่ละบาทให้เท่ากัน สิ่งนี้ช่วยให้เกิดความสม่ำเสมอและไพเราะในการอ่านออกเสียง

การใช้คำที่เหมาะสม การเลือกสรรคำที่เหมาะสมในการแต่งกาพย์ยานี 11 จะช่วยให้เกิดความไพเราะและงดงามต่อไป (สัมผัสระหว่างบท)



Not Rated stars เฉลี่ย : Not Rated จาก 0 ครั้ง.
รายละเอียดผู้เขียนบทความ blog
blog name :
เจ้าของ blog :
อาชีพ :
สถานที่ทำงาน :
จำนวนบทความใน blog :
ระดับของ blog :
Krisada
กฤษฎา จิตรบรรจง
17/7/2548

9 เรื่อง
[ มือใหม่ ]

ภาษาไทย 5 อันดับล่าสุด

      ครูคนเเรก 14/ก.พ./2568
      สามก๊ก 14/ก.พ./2568
      พ่อขุนรามคำแหง 14/ก.พ./2568
      นางสิบสอง 24/ม.ค./2568
      กาพย์แห่เรือ 24/ม.ค./2568


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น Rich Text Editor


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ skp209.bancha@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

The autocomplete trial has 0 day left.