วิธีการคัดพยัญชนะไทยแบบหัวกลมตัวมน 1. สัดส่วนของพยัญชนะ กำหนดเป็น 4 ส่วน ดังน้
2. หัวกลมมีขนาด 1 ส่วน 3. หัวของ ข ช เป็นหัวขมวดหยักหน้าบน และ ฅ ฆ ซ ฑ เป็นหัวหยัก - หัวโค้งหน้ามน 4. เส้นที่ลากจากหัวตรงในแนวดิ่ง ยกเว้น ค ฅ จ ฐ ฒ ด ต ล ศ ส เป็นเส้นโค้งเฉียง 5. เส้นบนโค้งมน มีขนาด 1 ส่วน 6. เส้นล่างตรงแนวเดียวกับเส้นบรรทัด หรือเป็นเส้นโค้งเล็กน้อย 7. หาง ป ฝ ฟ เป็นเส้นตรงยาวไม่เกิน 3 ส่วน 8. หางอักษรอื่นเป็นเส้นโค้งหงาย ยาวไม่เกิน 3 ส่วน 9. ส่วนล่างของ ฎ ฏ ฐ เลยตัวอักษรลงมา 2 ส่วน และกว้างเท่าตัวหลัง 10. เชิญ ญ อยู่ในส่วนที่ 1 ล่าง และกว้างเท่าตัวหลัง 11. ไส้ ษ อยู่ในส่วนที่ 2 12. ขนาดของตัวอักษรโดยทั่วไปมีความกว้างเป็นครึ่งหนึ่งของความสูงไม่รวมหางและชิงยกเว้น ข ฃ ช ซ กว้างเป็นครึ่งหนึ่งของตัวอื่น ๆ และตัวอักษรที่เหมือน 2 ตัวติดกัน ได้แก่ ฌ ญ ฒ ณ ตัวหน้ากว้างครึ่งหนึ่งของความสูง ตัวหลังกว้างครึ่งหนึ่งของตัวหน้า 13. สระ ไ- ใ- โ- สูงเลยตัวอักษรขึ้นไปไม่เกิน 3 ส่วน 14. สระ -อุ -อู อยู่ใต้ตัวอักษร ไม่เกิน 3 ส่วน 15. สระและเครื่องหมายบนทุกตัวอยู่ที่ส่วน 2 และ 3 16. ส่วนขวาสุดของสระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายต่าง ๆ อยู่ตรงกับเส้นขวาสุดของพยัญชนะที่เกาะ ยกเว้นถ้าอยู่กับพยัญชนะที่มีหาง ได้แก่ ป ฝ ฟ ให้เขียนสระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายเยื้องมาข้างหน้าไม่ทับหางพยัญชนะ 17. สระ อี ลากขีดลงแตะปลายสระ - ิ - ี 18. สระ - ื เขียนเหมือนสระ - ี เพิ่ม 1 ขีดด้านใน - ี - ื 19. สระ - ื มีวรรณยุกต์ให้ใส่วรรณยุกต์ไว้ตรงกลาง - ื อ่ เช่น อื่อ
ขั้นตอนการฝึกคัดและเขียน 1. ก่อนฝึกเขียนให้นักเรียนฝึกเขียนเส้นพื้นฐาน 10 แบบ จนชำนาญ 2. ครูสาธิตการเขียนอักษรไทยตัวเต็มบรรทัดทีละตัวลงบนกระดานดำ 3. นักเรียนทุกคนคัดและเขียนตัวอักษรแต่ละตัวตามครู ตัวละ 1 หน้ากระดาษ ลงในแบบฝึกเขียน (แบบ ข) บรรทัดที่เป็นเส้นประใช้สำหรับเขียนหางตัวอักษร และเชิงตัวอักษร 4. นักเรียนฝึกคัดและเขียนอักษรไทยทุกตัวในแบบฝึกเขียน (แบบ ข 1) จนชำนาญ ครูผู้สอนฝึกให้นักเรียนเขียนตัวอักษรไทยแต่ละตัว ๆ ละ 1 หน้ากระดาษ ลงในแบบฝึกเขียน(แบบ ข 2) ครูผู้สอนสังเกตพัฒนาการของนักเรียนแต่ละคนว่า อักษรแต่ละตัวนั้น นักเรียนเว้นช่องไฟถูกต้องหรือไม่ และคัดตัวละกี่ครั้งจึงจะสวยงามถูกต้อง 5. เมื่อนักเรียนฝึกคัดและเขียนในแบบฝึกเขียน (แบบ ข 2) จนชำนาญแล้ว ครูผู้สอนฝึกให้นักเรียนเขียนตัวอักษรเรียงตามลำดับทุกตัวลงในแบบฝึกเขียน (แบบ ข 3) โดยครูสังเกตการณ์เว้นช่องไฟความเป็นระเบียบ สะอาด สวยงาม ถูกตามหลักเกณฑ์การเขียน และประเมินผลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ของนักเรียนทุกคนเป็นเวลา 1 เดือน 6. เมื่อนักเรียนฝึกคัดและเขียนผสมอักษรเป็นข้อความในแบบฝึกเขียน (แบบ ข 2) จนชำนาญแล้วให้ฝึกเขียนผสมอักษรเป็นข้อความในแบบฝึกเขียน (แบบ ข 2) 7. เมื่อนักเรียนฝึกคัดและเขียนผสมอักษรเป็นข้อความในแบบฝึกเขียน (แบบ ข 2) จนชำนาญแล้วให้ฝึกเขียนผสมอักษรเป็นข้อความในแบบฝึกเขียน (แบบ ข 3) 3/1 8. เมื่อนักเรียนฝึกคัดและเขียนผสมอักษรเป็นข้อความในแบบฝึกเขียน (แบบ ข 3) จนชำนาญแล้วให้ฝึกเขียนผสมอักษรเป็นข้อความในแบบฝึกเขียน (แบบ ข 4) 9. เมื่อนักเรียนฝึกคัดและเขียนผสมอักษรเป็นข้อความในแบบฝึกเขียน (แบบ ข 4) จนชำนาญแล้วให้เขียนผสมอักษรเป็นข้อความในสมุดคัดไทยบรรทัดปกติ 10. ให้การบ้านนักเรียนคัดลายมือทุกวัน วันละ 10 บรรทัด 11. ประกวดคัดลายลายมือในชั้นเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง 12. ให้ครูผู้สอนจัดเก็บแบบฝึกการคัดและเขียนไว้ตั้งแต่เริ่มต้นการฝึกจนประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นหลักฐานในการเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะด้านการัดและการเขียน และเป็นหลักฐานในการนิเทศติดตามของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา