ภายหลังจากการประท้วงของยูโรไมดานและการปฏิวัติได้ส่งผลทำให้ถอดถอนประธานาธิบดี วิกตอร์ ยานูกอวึช ที่สนับสนุนรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014 มีการก่อความไม่สงบของฝ่ายที่สนับสนุนรัสเซียได้ปะทุขึ้นในบางส่วนของยูเครน ทหารรัสเซียที่ไม่มีเครื่องยศได้เข้าควบคุมตำแหน่งทางยุทธศาสตร์และโครงสร้างพื้นฐานในดินแดนไครเมียของยูเครนและเข้ายึดรัฐสภาไครเมีย รัสเซียจัดให้มีการลงประชามติที่มีการโต้เถียงกัน ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาคือ ไครเมียจะต้องถูกเข้าร่วมกับรัสเซีย สิ่งนี้นำไปสู่การผนวกไครเมีย ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2014 การเดินขบวนของกลุ่มที่สนับสนุนรัสเซียในดอนบัสได้ก่อให้เกิดบานปลายจนกลายเป็นสงครามระหว่างกองทัพยูเครนและกองกำลังฝ่ายแบ่งแยกดินแดนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียของสาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ซึ่งประกาศตนเป็นอิสระ ยานพาหนะทางทหารของรัสเซียที่ไม่เครื่องหมายได้ก้าวข้ามชายแดน[41] สู่สาธารณรัฐดอแนตส์ สงครามโดยไม่ได้มีการประกาศได้เริ่มขึ้นระหว่างกองกำลังยูเครนในฝ่ายหนึ่งและฝ่ายแบ่งแยกดินแดนที่ได้ผสมปนเปกับทหารรัสเซียในอีกฝ่ายหนึ่ง แม้ว่ารัสเซียจะพยายามหลบซ่อนในการมีส่วนร่วม สงครามได้จบลงด้วยความขัดแย้งคงที่ กับความพยายามในการเรียกร้องให้มีการหยุดยิงซึ่งประสบความล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่า ใน ค.ศ. 2015 รัสเซียและยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงมินสค์ 2 แต่มีข้อพิพาทหลายประการที่คอยขัดขวางจนไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างเต็มที่ ใน ค.ศ. 2019 ประมาณ 7% ของยูเครนถูกจัดประเภทโดยรัฐบาลยูเครนว่าเป็นดินแดนที่ถูกยึดครองเป็นการชั่วคราว ใน ค.ศ. 2021 และต้นปี ค.ศ. 2022 มีการรวมตัวกันของกองทัพรัสเซียครั้งใหญ่บริเวณรอบชายแดนยูเครน เนโทได้กล่าวหาว่ารัสเซียทำการวางแผนในการรุกรานซึ่งได้ให้การปฏิเสธ วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งรัสเซียได้วิจารณ์ว่า การขยายตัวของเนโทเป็นภัยคุกคามต่อประเทศของเขา และต้องการห้ามเพื่อไม่ให้ยูเครนเข้าร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารมาโดยตลอด นอกจากนี้ เขายังได้แสดงมุมมองของลัทธิการทวงดินแดนกลับคืนมา(irredentist) ได้ตั้งคำถามถึงสิทธิในการดำรงอยู่ของยูเครน และได้บอกกล่าวที่เป็นเท็จว่ายูเครนถูกก่อตั้งขึ้นโดยวลาดีมีร์ เลนิน[42] เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 รัสเซียได้ให้การรับรองอย่างเป็นทางการแก่ทั้งสองรัฐฝ่ายแบ่งแยกดินแดนซึ่งประกาศตนเป็นอิสระในดอนบัส และส่งกองกำลังทหารเข้าไปในดินแดนอย่างเปิดเผย สามวันต่อมา รัสเซียเข้ารุกรานยูเครน ประชาคมระหว่างประเทศส่วนใหญ่ได้กล่าวประณามรัสเซียอย่างหนักสำหรับการกระทำของตนในยูเครน โดยกล่าวหาว่าได้ทำการละเมิดกฏหมายระหว่างประเทศและรุกล้ำอธิปไตยของยูเครนอย่างร้ายแรง หลายประเทศได้ดำเนินการในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย บุคคลหรือบริษัทที่มาจากรัสเซีย[43] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภายหลังการรุกราน ค.ศ. 2022