การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 เป็นการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งที่ 27 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[10] หลังจากที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2566[11] ภายหลังการเลือกตั้งปรากฎว่าประเทศไทยไม่สามารถมีนายกรัฐมนตรีได้ โดยประธานรัฐสภากล่าวว่าการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีอาจจะมีอีกครั้งในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2566[12] ซึ่งครบ 100 วันหลังเลือกตั้ง ส่งผลให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่ประเทศไทยรอนายกรัฐมนตรีเป็นระยะเวลานานเป็นอันดับที่สองนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งในประเทศ[13]
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
← พ.ศ. 2562 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[1][2] ครั้งถัดไป →
← สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 26 →
ทั้งหมด 500 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรไทย
ต้องการ 251 ที่นั่งจึงเป็นฝ่ายข้างมาก
ลงทะเบียน
52,238,594 [3]
ผู้ใช้สิทธิ
75.71% (เพิ่มขึ้น 1.02 จุด)
Pita_Limjaroenrat,_October_2023.jpg
Paetongtarn_Shinawatra_October_2023.jpg
Anutin Charnvirakul - 2023 (52638148766) (cropped).jpg
ผู้นำ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แพทองธาร ชินวัตร อนุทิน ชาญวีรกูล
พรรค ก้าวไกล เพื่อไทย
ภูมิใจไทย
ผู้นำตั้งแต่ 14 มีนาคม 2563 20 มีนาคม 2565[a] 14 ตุลาคม 2555
เขตของผู้นำ บัญชีรายชื่อ (#1) ไม่ลงเลือกตั้ง บัญชีรายชื่อ (#1)
เลือกตั้งล่าสุด 81 ที่นั่ง, 17.80%[b] 136 ที่นั่ง, 22.16% 51 ที่นั่ง, 10.50%
ที่นั่งก่อนหน้า 45[4] 117[4] 63[4]
ที่นั่งที่ชนะ 151 141 71
ที่นั่งเปลี่ยน เพิ่มขึ้น 70 เพิ่มขึ้น 5 เพิ่มขึ้น 20
คะแนนเสียง 14,438,851 10,962,522 1,138,202
% 36.54 27.74 2.88
Prawit Wongsuwan (2018) cropped.jpg
Prayut 2022.jpg
Jurin_Laksanawisit_2009_(cropped).jpg
ผู้นำ ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5] จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
พรรค พลังประชารัฐ
รวมไทยสร้างชาติ
ประชาธิปัตย์
ผู้นำตั้งแต่ 27 มิถุนายน 2563 9 มกราคม 2566[c] 15 พฤษภาคม 2562
เขตของผู้นำ บัญชีรายชื่อ (#1) ไม่ลงเลือกตั้ง[6] บัญชีรายชื่อ (#1)
เลือกตั้งล่าสุด 116 ที่นั่ง, 23.74% – 53 ที่นั่ง, 11.13%
ที่นั่งก่อนหน้า 79[4] 2 50[4]
ที่นั่งที่ชนะ 40 36 25
ที่นั่งเปลี่ยน ลดลง 76 พรรคใหม่ ลดลง 28
คะแนนเสียง 537,625 4,766,408 925,349
% 1.36 12.06 2.34
Varawut Silpa-archa in 2023.png
Wan_Muhamad_Noor_Matha-2023-12-10.jpg
Khun Ying Sudarat Keyuraphan.jpg
ผู้นำ วราวุธ ศิลปอาชาคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงผลอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ.2566 ผลปรากฏว่า พรรคก้าวไกลได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรมากที่สุด ส่วนพรรคเพื่อไทยได้ที่นั่งรองลงมาเป็นอันดับสอง[14][15] การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้มาใช้สิทธิ์มากถึงร้อยละ 75.71 ทำลายสถิติของการเลือกตั้งเมื่อ พ.ศ. 2554 ที่มีผู้มาใช้สิทธิ์ร้อยละ 75.03[16] การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นการเลือกตั้งที่หาเสียงโดยพูดเรื่องเงินมากที่สุดครั้งหนึ่ง หลายพรรคเสนอจำนวนเงินเป็นตัวเลข การหาเสียงในป้ายหาเสียงมีแต่จำนวนเงิน อาทิ บำนาญผู้สูงอายุ 3,000 บาทต่อเดือน[17] และโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท สำหรับใช้จ่ายในพื้นที่ที่กำหนด[18]
|