[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 314 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ blog
ฝากข้อความ
  • ศิรินทร์ทิพย์ พิพิธศาลา:
  • ศิรินทร์ทิพย์ พิพิธศาลา: a3rt
  • ศิรินทร์ทิพย์ พิพิธศาลา: 4ojd
  • ประวิทย์: ผมบรรจุครั้งแรกที่ ศรีแก้ว ปี2535 คิดถึงจังครับ
  • อรรถณกรณ์ ศรีสังหะ: คิดถึงมากๆครับ14ปีแล้วไม่เคยเข้าไปเลยคิดถึงตอนปลูกข้าวโพด ปลูกต้นสัก ปลูกลำดวน ขนุน ไม่มีห้องเรียนลมหนาวมาสั้นจึกๆๆรักศรีแก้วพิทยาครับ
  • ศิริกุล: *--*
  • ประวิทย์: ผมอยากได้เบอร์โทร นายวันชัย จาก อ.ประวิทย์ เคยสอนที่ รร.ศรีแก้วพิทยา
  • จารุเดช : อยากให้โรงเรียนเปิดเทอมเร็วนะคราฟ
  • admin: ถ้าเข้ามาชมเว็บไซต์แล้วอย่าลืมลงนามสมุดเยี่ยมให้ด้วยนะครับ
  • admin: ศิษย์เก่าโรงเรียนศรีแก้วพิทยาทุกรุ่นลงทะเบียนได้แล้วครับ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
รวมเว็บที่น่าสนใจ
  

  หมวดหมู่ : สังคมศึกษา
เรื่อง : รูปแบบการปกครองจำแนกตามรัฐธรรมนูญ
blog name : Akarachai
ระดับ : [ มือใหม่ ]
เข้าชม : 69
อังคาร ที่ 24 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2567
A- A A+
        

1 รูปแบบการปกครองจำแนกตามรัฐธรรมนูญ

1.แบ่งแยกตามวิธีการบัญญัติ

การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรและรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร หมายความถึง รัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติรวมอยู่ในเอกสารฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับ กำหนดถึงระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในรัฐ และความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเช่นว่านี้ต่อกันและกัน[8] กฎเกณฑ์การปกครองประเทศและได้จัดทำด้วยวิธีการที่แตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา[9]

รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี หมายความถึง ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี คำพิพากษาของศาลยุติธรรม กฎหมายที่เกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศทางด้านการเมือง ธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ที่ยึดถือติดต่อกันมา รวมกันเข้าเป็นบทบัญญัติที่มีอำนาจเป็นกฎหมายสูงสุด กำหนดรูปแบบการปกครองของรัฐ ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เขียนรวบรวมไว้เป็นรูปเล่ม[10]

รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนี้จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกครองรัฐ ความมั่นคงมากกว่ารัฐธรรมนูญจารีตประเพณี เมื่อมีการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญย่อมเห็นได้ชัดเจนกว่ารัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร และรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมีความยืดหยุ่นน้อยกว่ารัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

2.แบ่งแยกตามเนื้อหาและตามแบบพิธี[11]

การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญตามเนื้อหาและรัฐธรรมนูญตามแบบพิธี

รัฐธรรมนูญตามเนื้อหา หมายความถึง รัฐธรรมนูญซึ่งมีบทบัญญัติบัญญัติถึงข้อความที่เป็นเรื่องของรัฐธรรรมนูญโดยตรง โดยไม่ต้องคำนึงว่าเรียกชื่อกฎหมายนั้นว่าเป็นรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่น Parliament Act 1911 ของสหราชอาณาจักร ซึ่งรูปแบบและลักษณะของกฎหมายฉบับนี้เป็นพระราชบัญญัติ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญตามแบบพิธี หมายถึง รัฐธรรมนูญซึ่งได้บัญญัติโดยวิธีการบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าเนื้อหาของบทบัญญัตินั้นเป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญหรือไม่

3.แบ่งแยกตามวิธีการแก้ไข[12]

การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยากและรัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย

รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก หมายถึง รัฐธรรมนูญที่การแก้ไขเพิ่มเติมกระทำได้ยากกว่าการบัญญัติกฎหมายธรรมดา กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมมีความซับซ้อนกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายธรรมดา เช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นต้น

รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย หมายถึง รัฐธรรมนูญที่การแก้ไขเพิ่มเติมกระทำได้โดยวิธีการเดียวกับการแก้ไขกฎหมายธรรมดา กล่าวคือ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสามารถกระทำได้โดยการตราพระราชบัญญัติ เช่น รัฐธรรมนูญของสหราชอาณาจักร อิสราเอล และนิวซีแลนด์ เป็นต้น

4.แบ่งแยกตามกำหนดเวลาในการบังคับใช้[13]

การแบ่งแยกโดยหลักเกณฑ์นี้สามารถแบ่งแยกรัฐธรรมนูญออกได้เป็น 2 ประเภทคือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและรัฐธรรมนูญฉบับถาวร

รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เป็นรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้เป็นการฉุกเฉินหรือเป็นการล่วงหน้าในบางสถานการณ์ เช่น ภายหลังจากที่มีการปฎิวัติรัฐประหาร มักมีข้อความน้อยมาตราหรือไม่มีบทประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน

รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นให้มีความสมบูรณ์ที่สุดเพื่อให้บังคับใช้ได้ตลอดไป

 



5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 1 ครั้ง.
รายละเอียดผู้เขียนบทความ blog
blog name :
เจ้าของ blog :
อาชีพ :
สถานที่ทำงาน :
จำนวนบทความใน blog :
ระดับของ blog :
Akarachai
อัครชัย กันสุมาโส
1/6/2549
โรงเรียนศรีแก้วพิทยา
2 เรื่อง
[ มือใหม่ ]

สังคมศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      โรเบิร์ต โทรุ คิโยซากิ 14/ก.พ./2568
      อีลอน รีฟ มัสก์ 14/ก.พ./2568
      สงครามรัสเซีย–ยูเครน 14/ก.พ./2568
      การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 14/ก.พ./2568
      ประยุทธ์ จันทร์โอชา 14/ก.พ./2568



ความคิดเห็นที่ 1 อังคาร ที่ 24 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2567 เวลา 09:33:38
  ข้อความ :

    

มีประโยชน์มากครับฃ




โดย : pum33150    ไอพี : 118.172.xxx.xxx

กำลังแสดงหน้าที่ 1/1
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น Rich Text Editor


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ skp209.bancha@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

The autocomplete trial has 0 day left.