ประวัติวันคริสต์มาส ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีการกำหนดให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันประสูติของพระเยซูตั้งแต่เมื่อไหร่ ทั้งนี้ ตามหลักฐานที่มีพบว่านักประวัติศาสตร์ Sextus Julius Africanus ระบุว่าวันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันประสูติของพระเยซูเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 221 จากนั้นก็ได้กลายเป็นวันที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายหนึ่งในเหตุผลที่นักประวัติศาสตร์กล่าวไว้ คือ งานฉลอง “dies solis invicti nati” (Day of the Birth of the Unconquered Sun) ซึ่งเป็นงานฉลองสำคัญของผู้คนในจักรวรรดิโรมัน ที่เฉลิมฉลอง Winter Solstice หรือ เหมายัน อันเป็นสัญลักษณ์การกลับมาของพระอาทิตย์ ที่จะทำให้ฤดูหนาวผ่านพ้นไป และต้อนรับการกลับมาของฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อนที่จะสร้างความอุดมสมบูรณ์ หรือการเกิดใหม่อีกครั้ง (Rebirth) ทั้งนี้ หลังจากวันที่ 25 ธันวาคม ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายว่าเป็นวันประสูติของพระเยซูแล้ว นักเขียนและนักประวัติศาสตร์คริสเตียนหลายคนมักกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Rebirth of the Sun (การกลับมาของพระอาทิตย์) และ Birth of the Son (การเกิดของบุตรของพระเจ้าซึ่งก็คือพระเยซู)เทศกาลคริสต์มาสเป็นวันแห่งการเฉลิมฉลองวันประสูติของพระเยซู ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม และเป็นการฉลองความรักที่พระเจ้ามีต่อมนุษย์ ด้วยการส่งบุตร คือ "พระเยซู" ลงมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อช่วยเหลือ ชาวคริสต์หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์มากมายทั่วโลกนิยมส่งบัตรอวยพร ให้ของขวัญแก่สมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อน ๆ รวมทั้งประดับตกแต่งบ้านเรือนด้วยแสงไฟและต้นคริสต์มาสอย่างสวยงาม สถานที่ต่าง ๆ โดยทั่วไป เช่น ห้างสรรพสินค้า ก็มีการประดับต้นคริสต์มาส และจัดแสดงแสง สี เสียง ให้เข้ากับบรรยากาศคริสต์มาสคล้ายกับในช่วงปีใหม่สำหรับชาวไทย ชาวคริสต์และชาวตะวันตกนิยมเดินทางกลับบ้านเพื่อพบปะสังสรรค์กับสมาชิกในครอบครัวในช่วงเทศกาลคริสต์มาส โดยมักจะมีการทำกิจกรรมและรับประทานอาหารร่วมกัน อาหารที่ได้รับความนิยมได้แก่ ไก่งวง (Turkey) ทานคู่กับซอสแครนเบอร์รี่ และเครื่องดื่ม เช่น ไวน์เครื่องเทศอุ่น ๆ (Mulled Wine) นอกจากนี้ หลายคนยังนิยมทำขนมอบ เช่น คุกกี้รูปมนุษย์ขนมปังขิงอีกด้วย
ทำไรมิ้นเอ้ยยยยย
คือดีย์ยยยยยยยยย