[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 312 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ blog
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
รวมเว็บที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
CT Scan ซีทีสแกน  VIEW : 1664    
โดย ดร. ศิรพงศ์ รักต์เธียรธรรม

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 23
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 3
Exp : 91%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 171.96.191.xxx

 
เมื่อ : จันทร์ ที่ 14 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2560 เวลา 01:26:15   

CT Scan ซีทีสแกน

เอกซเรย์มีประโยชน์และโทษอย่างไร?
เอกซเรย์สามารถตรวจภาพของเนื้อเยื่อ/อวัยวะได้ทุกชนิด และในทุกเพศและทุกวัย ดัง นั้นจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อแพทย์ในการช่วยวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น อันนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพ
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถให้รายละเอียดของภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีขนาดใหญ่และมีความหนามาก (เช่น ปอด ตับ) อวัยวะที่ห้อมล้อมด้วยกระดูก (เช่น สมอง) และอวัยวะที่อยู่ลึก (เช่น อวัยวะต่างๆในช่องท้อง เช่น มดลูก รังไข่ ตับอ่อน ไต และกระเพาะอาหาร) ได้ดีกว่าการเอกซเรย์ธรรมดามาก ดังนั้นเมื่อเป็นการวินิจฉัยโรคของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีลักษณะดังกล่าวอย่างละเอียด แพทย์จึงมักจำเป็นต้องให้การตรวจวินิจฉัยภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะเหล่านั้นด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตาม เอกซเรย์ เป็นรังสีที่มีพลังงานได้หลายระดับ และก่อให้เกิดการบาดเจ็บของเซลล์ได้ทุกชนิด การบาดเจ็บจะมากหรือน้อยขึ้นกับปริมาณและระดับพลังงานของเอกซเรย์ที่เซลล์ได้รับ รวมทั้งอายุของเซลล์ด้วย โดยเซลล์ตัวอ่อน เช่น เซลล์ของทารกในครรภ์ (อาจส่งผลให้เกิดการแท้ง หรือ ความพิการของทารกได้) เมื่อได้รับเอกซเรย์จะมีโอกาสเกิดการบาด เจ็บได้สูงกว่าเซลล์ของผู้ใหญ่ (รังสีจากการตรวจโรค) ดังนั้นนอกจากประโยชน์ที่ได้รับ ถ้าใช้เอกซเรย์พร่ำเพรื่อ อาจทำให้เซลล์ร่างกายได้รับปริมาณรังสีสูงจนอาจก่อการบาดเจ็บต่อเซลล์ได้โดยเฉพาะในระยะยาวเมื่อหลายๆปีผ่านไป ซึ่งอันตรายที่สำคัญ คือ การบาดเจ็บของเซลล์ (จากรังสี) อาจส่งผลให้เซลล์ที่ได้รับรังสีเกิดการเปลี่ยนแปลง (Mutation) จนกลายเป็นเซลล์ มะเร็ง/โรคมะเร็งได้ การแพทย์จึงจัด เอกซเรย์เป็นรังสีที่สามารถก่อมะเร็งได้ (Carcinogen)
จากผลกระทบของเอกซเรย์ดังกล่าวแล้ว แพทย์จึงจะให้การตรวจด้วยเอกซเรย์เฉพาะต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเท่านั้น โดยเฉพาะในการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีจากการตรวจในแต่ละครั้งมากกว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดา
***** โอกาสเกิดโรคมะเร็งจากการตรวจโรคด้วยเอกซเรย์โดยแพทย์แนะนำ พบได้น้อยมากๆจนไม่จำเป็นต้องกังวล และเป็นที่ยอมรับของทางการแพทย์ทั่วโลกว่า การเอกซเรย์ทั้งเอกซเรย์ธรรมดาและเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และตามดุลพินิจของแพทย์ ก่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างมากมาย มากกว่าการเกิดโทษ
เอกซเรย์ธรรมดาต่างจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์อย่างไร?
ความแตกต่างระหว่างการเอกซเรย์ธรรมดากับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ คือเอกซเรย์ธรรมดา จะให้ภาพการตรวจเป็นภาพ 2 มิติ คือกว้าง และยาว ไม่สามารถบอกความลึกได้ และจะให้ภาพเป็นภาพรวมของทั้งอวัยวะ ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดของเอกซเรย์ธรรมดา เมื่อเปรียบเทียบกับเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้เทคโนโลยีในการตรวจที่ซับซ้อนกว่าเอกซเรย์ธรรมดามาก ซึ่งจะให้ภาพเป็น 3 มิติ และยังซอยภาพอวัยวะออกเป็นแผ่นบางๆในภาพตัดขวางได้หลายสิบแผ่น จึงช่วยให้แพทย์อ่านความผิดปกติของอวัยวะนั้นๆได้ละเอียดและแม่นยำกว่า
ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จะสูงกว่าการเอกซเรย์ธรรมดาเป็นสิบ หรือหลายสิบเท่า และในการตรวจแต่ละครั้งผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีสูงกว่าจากการตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดา
ดังนั้นโดยทั่วไปเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย แพทย์จึงมักตรวจด้วยเอกซเรย์ธรรมดาก่อน ต่อเมื่อเอกซเรย์ธรรมดาไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ แพทย์จึงจะพิจารณาเลือกใช้การตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
เมื่อไหร่จึงควรตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์? ตรวจส่วนไหนของร่างกายได้บ้าง?
แพทย์จะเลือกการตรวจวินิจฉัยด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เมื่อเนื้อเยื่อ/อวัยวะ (เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ) ที่ต้องการวินิจฉัยให้การตรวจด้วยการเอกซเรย์ธรรมดาไม่ชัดเจน ซึ่งได้แก่
เนื้อเยื่อ/อวัยวะที่จะตรวจ มีความหนามาก การถ่ายภาพได้เป็นแผ่นบางๆจึงช่วยให้เห็นพยาธิสภาพของเนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆได้ชัดเจนกว่า เช่น ตับ และปอด เป็นต้น
เนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆอยู่ลึก การถ่ายภาพเป็น 3 มิติ ที่สามารถตรวจภาพด้านความลึกได้ จึงช่วยให้เห็นภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะนั้นๆได้ชัดเจนขึ้น เช่น ตับอ่อน และไต
ต้องการตรวจให้พบพยาธิสภาพที่มีขนาดเล็กๆ เป็น มิลลิเมตร หรือไม่เกิน 1 เซนติเมตรเพื่อสามารถให้การรักษาได้ตั้งแต่เริ่มเป็นโรค เช่น ในการตรวจวินิจฉัยการแพร่กระจายของโรค มะเร็งสู่ปอด เป็นต้น
ตรวจอวัยวะที่ล้อมรอบด้วยกระดูก ซึ่งจะตรวจพยาธิสภาพไม่พบจากเอกซเรย์ธรรมดา เช่น ภาพสมอง
ตรวจครั้งเดียววินิจฉัยโรคได้หลายเนื้อเยื่อ/อวัยวะ ซึ่งไม่สามารถตรวจได้ด้วยวิธีการอื่นๆรวมทั้งจากเอกซเรย์ธรรมดา เช่น การตรวจเนื้อเยื่อ/อวัยวะในช่องท้องทั้งหมดในการตรวจเพียงครั้งเดียว ที่เรียกว่า Whole abdomen CT scan
ทั้งนี้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถตรวจเนื้อเยื่อ/อวัยวะได้เกือบทุกชนิด ตั้งแต่ต่อมน้ำเหลือง กระดูก ปอด ตับ อวัยวะต่างๆในสมอง กล้ามเนื้อ ดวงตา หู ลำคอ แต่ทั้งนี้ไม่สามารถตรวจพยาธิสภาพของหลอดเลือด และเส้นประสาทได้ชัดเจน
CT Scan ซีทีสแกน
HonestDocs
[url]https://www.honestdocs.co/ct-scan[/url]
[url]https://www.honestdocs.co[/url]