[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 312 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ blog
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
รวมเว็บที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> สอบถาม พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนการสอน >>
ต้อกระจก  VIEW : 5434    
โดย พิไลวรรณ ชูใจ

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2
ตอบแล้ว : 12
เพศ :
ระดับ : 3
Exp : 9%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 101.51.229.xxx

 
เมื่อ : พุธ ที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2563 เวลา 09:24:10   




ต้อกระจก สาเหตุ และปัจจัยสำคัญที่ควรระวัง

รู้จักกับต้อกระจก
ต้อกระจกเป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดการขุ่นของ “เลนส์ตา” ปกติเลนส์ตาจะมีลักษณะใส ทำหน้าที่ช่วยในการรวมแสงให้ตกลงบนจอประสาทตาพอดี เมื่อเกิดต้อกระจก ทำให้แสงไม่สามารถเข้าไปในตาได้ตามปกติ ทำให้การมองเห็นไม่ชัดเจนหรือมีอาการตามัว พบบ่อยในผู้สูงอายุ

 

สาเหตุของโรค
ต้อกระจกเกิดจากความเสื่อมของโปรตีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ตาขุ่นและแข็งขึ้น มักพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป สาเหตุหลักคือ เป็นความเสื่อมตามวัย โดยสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น แต่อาจพบได้กลุ่มอายุน้อยได้เช่นกัน เช่น ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์

 

สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดต้อกระจก
การได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานาน ๆ
มีโรคประจำตัวที่ส่งเสริมให้เกิดต้อกระจกได้ เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
โรคทางตา เช่น ม่านตาอักเสบ ตาติดเชื้อ สายตาสั้นมาก ๆ เคยผ่าตัดตามาก่อน เช่น หลังผ่าตัดจอตา
ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน
เคยมีอุบัติเหตุที่ดวงตาหรือดวงตาได้รับการกระทบกระเทือนบ่อย ๆ
การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์
เคยโดนฉายรังสีในส่วนบนของร่างกาย ศีรษะ

อาการต้อกระจก
มองไม่ชัดอย่างช้า ๆ ไม่มีการอักเสบหรือปวด มองเห็นมัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นในเนื้อเลนส์
ภาพซ้อน สายตาพร่า เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน การหักเหของแสงไปที่จอประสาทตาจึงไม่รวมเป็นจุดเดียว ในผู้ป่วยบางรายจะมีสายตาสั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อย ๆ บางรายสายตาสั้นขึ้นจนกลับมาอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่น
สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะขณะขับรถในตอนกลางคืน
มองเห็นสีต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ต้องการแสงสว่างมากขึ้นในการมอง
เมื่อต้อกระจกสุก อาจสังเกตเห็นเป็นสีขาวตรงรูม่านตา ซึ่งปกติเห็นเป็นสีดำ หากละเลยทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคต้อหิน การอักเสบภายในตา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้


การรักษาต้อกระจก
ช่วงแรกของการเป็นต้อกระจก การเปลี่ยนแว่นตาแก้ไขอาจทำให้มองเห็นชัดขึ้นได้บ้าง ยังไม่มียาหยอดตาหรือยารับประทานใด ๆ ที่รักษาต้อกระจกได้ เมื่อเป็นมากขึ้นมองไม่ชัด วิธีการรักษาคือการผ่าตัดเท่านั้น


การผ่าตัดต้อกระจก

1) วิธีสลายต้อกระจกด้วยเครื่องสลายต้อ (Phacoemulsification with Intraocular Lens)

วิธีที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน แผลที่กระจกตาเล็กเพียง 3 มม. แพทย์จะสอดเครื่องมือสลายต้อเข้าไปที่ตัวต้อกระจก ใช้พลังงานความถี่สูงเท่าระดับอัลตราซาวนด์เข้าสลายต้อกระจกจนหมดจึงใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่ แผลมีขนาดเล็กมาก ไม่ต้องเย็บแผลในคนไข้ส่วนใหญ่

2) วิธีผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens)
วิธีผ่าตัดดั้งเดิมที่ใช้ในกรณีที่ต้อกระจกสุกและแข็งมาก ๆ จนไม่เหมาะกับการสลายด้วยเครื่อง จักษุแพทย์จะเปิดแผลบริเวณครึ่งบนของลูกตายาวประมาณ 10 มม.เพื่อเอาตัวเลนส์แก้วตาที่เป็นต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่แล้วจึงเย็บปิดแผลด้วยไหมเย็บแผล

ป้องกันการเกิดต้อกระจก
สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่มีวิตามินเอ อี และซี ช่วยบำรุงสายตา อย่างไรก็ดีการรับประทานวิตามินเสริมยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าลดความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกได้
แนะนำควรตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป

 

 

 

อ้างอิง https://www.bangkokhospital.com





โดย ฟาริดา ทุมมา
UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2
ตอบแล้ว : 12
ระดับ : 1
Exp : 100%
IP : 101.51.229.xxx

 
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ธ.ค. 2563 : 09:30

ขอบคุณสำหรับสิ่งที่เป็นประโยนช์ค่ะ

      
โดย ผกามาศ สินไทย
UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 1
ตอบแล้ว : 14
ระดับ : 1
Exp : 100%
IP : 101.51.229.xxx

 
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ธ.ค. 2563 : 09:34

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคชนิดนี้นะคะ

      
โดย นันท์พิตรา ผิวอ่อน
UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2
ตอบแล้ว : 12
ระดับ : 1
Exp : 100%
IP : 101.51.229.xxx

 
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 ธ.ค. 2563 : 09:34

ข้อมูลแน่นมากจ้า

      
โดย พรพิมล ชูใจ
UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2
ตอบแล้ว : 10
ระดับ : 1
Exp : 100%
IP : 101.51.229.xxx

 
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ธ.ค. 2563 : 09:40

ฉันไปหาหมอมายังไม่ได้ความรู้เท่าการเข้ามาอ่านกระทู้ของคุณเลยค่ะ 

 

เริ่ด ที่  สุดดดดด



      
โดย นางสาวรุ่งนภา เบ็ญมาศ
UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2
ตอบแล้ว : 13
ระดับ : 1
Exp : 100%
IP : 101.51.229.xxx

 
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ธ.ค. 2563 : 09:41

ดีมากค้าาาาาา

      
1 2 Next